วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การทำ EM แห้ง หรือ EM โบกาฉิ

การทำ โบกาฉิ แห้ง
                โบกาฉิ (Bokashi) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า การหมัก (Compost) ที่จำเป็นต้องเรียกว่าโบกาฉิ” เนื่องจากผู้คิดค้นทำ EM น้ำให้เป็น EM แห้ง คนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ปัจจุบันมีการใช้EM อย่างแพร่หลายทั่วโลกประมาณ 180 ประเทศ ผู้ใช้จากทั่วโลกจึงเรียก โบกาฉิตามศัพท์เดิมที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเข้าใจตรงกันว่าเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EMเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการเรียก โบกาฉิในรูปของปุ๋ยชีวภาพต่างๆ ตามแต่ละท้องที่หรือผู้ส่งเสริมเผยแพร่จะเรียกชื่อ
      โบกาฉิเป็นการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ EM น้ำให้เป็น EM แห้ง ซึ่งมีวัสดุ เช่น รำข้าว มูลสัตว์ และแกลบ การเพาะเลี้ยงใช้เวลา 5-7 วัน EM จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก สามารถนำไปเก็บรักษาได้นานขึ้น เมื่อนำไปใช้ในด้านการเกษตรกรรม การปลูกพืช การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อมจึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากและยังมีคุณสมบัติเหมือน EM น้ำทุกประการ
      
    วัสดุ  
1   รำละเอียด                             1 ปี๊บ      
2     มูลสัตว์                                   1 ปี๊บ          
3      แกลบ                                     1 ปี๊บ
4      ถังน้ำ 10 ลิตร                       1 ใบ   
5      EM น้ำ                                   20 ซีซี. (ช้อนโต๊ะ) 
6       กากน้ำตาล                            20 ซีซี.
7      จอบ หรือ พลั่ว                     1 อัน
   
     วิธีทำ  
1     นำมูลสัตว์ และแกลบคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2    เติมน้ำลงในถัง 10 ลิตร แล้วเติมEMและกากน้ำตาลอย่างละ 20 ซี.ซี. คลุกเคล้าให้เข้ากัน ราดลงที่ส่วนผสมของมูลสัตว์และแกลบ (ในข้อ 1) ให้มีความชื้นพอหมาดๆ ให้กระจายทั่วทุกส่วน อย่าให้เปียกแฉะ ใช้มือบีบดูอย่าให้มีน้ำซึมผ่านออกมา (น้ำผสมEM 1ลิตร อาจจะใช้ไม่หมด)           
3   โรยรำละเอียดให้รำข้าวกระจายทั่วถึง จะเกิดความชื้นหมาดๆ พอดี
   
   การหมัก 
  
การหมักเพื่อให้ EM เพิ่มหรือขยายจำนวนให้มากขึ้น การหมักมี 2 วิธี คือ
1   หมักโดยกองกับพื้นให้สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วคลุมด้วยกระสอบป่านภายใน 5ชั่วโมง จะมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 50องศาเซลเซียส ในวันที่ 2  และวันที่ 3 ให้คลุกผสมใหม่ นำกระสอบมาคลุมไว้เหมือนเดิม เมื่อครบ 5-7วัน ปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท  สามารถนำไปใช้  หรือเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม
2  หมักในกระสอบพลาสติก โดยบรรจุลงในกระสอบพลาสติกสานที่มีรูระบายอากาศได้ดี  เช่น ถุงปุ๋ย ประมาณ ?  กระสอบ  มัดปากกระสอบนอนไว้แล้วเก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเท เมื่อถึงวันที่และวันที่ 3  ให้พลิกกระสอบ เพื่อให้ EM สร้างสปอร์หรือเพิ่มจำนวนทุกส่วนได้อย่างทั่วถึง เมื่อครบ 5-7 วันปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท

     การนำไปใช้
1   หว่านโบกาฉิในแปลงปลูกพืชผัก 2-3 กำมือต่อตารางเมตร คลุมฟางที่แปลงผัก รอบทรงพุ่มไม้ผลไม้ยืนต้น แล้วรดด้วยน้ำEM  จะทำให้พืชงาม  แข็งแรงไม่มีแมลงรบกวน
2   ใส่โบกาฉิลงไปที่คอห่านหัวส้วม 5 วันต่อครั้งๆ ละ 1 กำมือ ห้องส้วมจะไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่เต็มง่าย  หว่านโบกาฉิลงในแหล่งน้ำเสีย 2 กิโลกรัม/น้ำเสีย 10 ลูกบาศก์เมตร  น้ำเสียจะใสสะอาดภายใน 3-5 วัน  หว่านโบกาฉิลงที่กองขยะที่ส่งกลิ่นเหม็น กลิ่นเหม็นจะหายไปและไม่มีแมลงวัน
3   หว่านโบกาฉิลงในบ่อที่เลี้ยงปลา กบ ตะพาบน้ำ จระเข้ กุ้ง ในอัตรา 100-150 กิโลกรัม /ไร่  จะทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดเหมือนน้ำธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็น พยาธิในบ่อจะไม่มี ปลา กบ ตะพาบน้ำ จระเข้ กุ้ง จะแข็งแรง ไม่เกิดโรค มีความต้านทานโรคสูง

4       หว่านโบกาฉิอัตรา 100-150 กิโลกรัม /ไร่ ในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว แล้วไถกลบ จะทำให้ดินนิ่ม ร่วนซุย ดินโปร่งมีช่องอากาศแทรกในเม็ดดิน ปักดำง่าย ได้ผลผลิตสูง ในปีแรก จะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 500 กิโลกรัม /ไร่ เมื่อใช้ติดต่อกันประมาณ 5-6 ปี จะได้ผลผลิตประมาณ1,000 กิโลกรัม/ไร่ แล้วหยุดการใช้โบกาฉิ สักระยะเนื่องจากดินเหมือนดินในธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์มาเมื่อ 50-100 ปี โรคข้าว เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า โรคถอดฝักดาบ โรคเพลี้ยไฟ โรคหนอนกระทู้คอรวง ฯลฯ  จะหาไม่พบเลยเมื่อใช้โบกาฉิแล้ว กบ   เขียด กุ้ง หอย ปลา ฯลฯ จะกลับคืนสู่ท้องนาอย่างอุดมสมบูรณ์เหมือนที่เคยมีในอดีต
5   หว่านโบกาฉิรอบทรงพุ่มไม้ผล 3-5 กำมือ / ตารางเมตร (ไม่ให้ชิดโคนต้น) หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จะทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ไม้ผลเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง มีไส้เดือนมาอาศัยอยู่ในสวนเป็นจำนวนมาก พื้นที่ในสวนที่ใช้โบกาฉิจะเก็บรักษาน้ำฝนไว้ไต้ดินจำนวนมาก    หน้าแล้งไม้ผลจะออกใบเขียวชอุ่มอยู่ตลอดปี พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูง รสชาติไม้ผลหอมหวานกลมกล่อมเป็นธรรมชาติ ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชทำลายให้เกิดความเสียหาย การใช้โบกาฉิ ซึ่งเป็นปุ๋ยหมัก ที่เพาะเลี้ยงจุลินทรีย์EMลงไปในอินทรียวัตถุ ทุกท้องถิ่นหาวัสดุทำได้ง่าย เป็นปุ๋ยมีชีวิต สร้างดินให้มีชีวิต ปรับโครงสร้างของดินให้เกิดระบบนิเวศที่มีความสมดุลตามธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว