การทำ โบกาฉิ แห้ง
โบกาฉิ (Bokashi) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า
การหมัก (Compost) ที่จำเป็นต้องเรียกว่า“โบกาฉิ” เนื่องจากผู้คิดค้นทำ EM น้ำให้เป็น EM แห้ง คนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ
ฮิหงะ ปัจจุบันมีการใช้EM อย่างแพร่หลายทั่วโลกประมาณ 180 ประเทศ ผู้ใช้จากทั่วโลกจึงเรียก โบกาฉิตามศัพท์เดิมที่มาจากภาษาญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นการเข้าใจตรงกันว่าเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ
ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EMเท่านั้น
ปัจจุบันได้มีการเรียก โบกาฉิในรูปของปุ๋ยชีวภาพต่างๆ
ตามแต่ละท้องที่หรือผู้ส่งเสริมเผยแพร่จะเรียกชื่อ
โบกาฉิเป็นการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ EM น้ำให้เป็น EM แห้ง ซึ่งมีวัสดุ เช่น
รำข้าว มูลสัตว์ และแกลบ การเพาะเลี้ยงใช้เวลา 5-7 วัน EM จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
สามารถนำไปเก็บรักษาได้นานขึ้น เมื่อนำไปใช้ในด้านการเกษตรกรรม การปลูกพืช
การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อมจึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากและยังมีคุณสมบัติเหมือน EM น้ำทุกประการ
วัสดุ
1 รำละเอียด 1 ปี๊บ
2 มูลสัตว์ 1 ปี๊บ
3 แกลบ 1 ปี๊บ
4 ถังน้ำ 10 ลิตร 1 ใบ
5 EM น้ำ 20 ซีซี. (2 ช้อนโต๊ะ)
6 กากน้ำตาล 20 ซีซี.
7 จอบ หรือ พลั่ว 1 อัน
วิธีทำ
1 นำมูลสัตว์ และแกลบคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2 เติมน้ำลงในถัง 10 ลิตร แล้วเติมEMและกากน้ำตาลอย่างละ 20 ซี.ซี.
คลุกเคล้าให้เข้ากัน ราดลงที่ส่วนผสมของมูลสัตว์และแกลบ (ในข้อ 1) ให้มีความชื้นพอหมาดๆ ให้กระจายทั่วทุกส่วน อย่าให้เปียกแฉะ
ใช้มือบีบดูอย่าให้มีน้ำซึมผ่านออกมา (น้ำผสมEM 10 ลิตร อาจจะใช้ไม่หมด)
3 โรยรำละเอียดให้รำข้าวกระจายทั่วถึง
จะเกิดความชื้นหมาดๆ พอดี
การหมัก
การหมักเพื่อให้ EM เพิ่มหรือขยายจำนวนให้มากขึ้น
การหมักมี 2 วิธี คือ
1 หมักโดยกองกับพื้นให้สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร
แล้วคลุมด้วยกระสอบป่านภายใน 5ชั่วโมง
จะมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 50องศาเซลเซียส
ในวันที่ 2 และวันที่ 3 ให้คลุกผสมใหม่ นำกระสอบมาคลุมไว้เหมือนเดิม เมื่อครบ 5-7วัน ปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท สามารถนำไปใช้ หรือเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม
2 หมักในกระสอบพลาสติก
โดยบรรจุลงในกระสอบพลาสติกสานที่มีรูระบายอากาศได้ดี เช่น ถุงปุ๋ย ประมาณ ? กระสอบ มัดปากกระสอบนอนไว้แล้วเก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเท
เมื่อถึงวันที่2 และวันที่ 3 ให้พลิกกระสอบ เพื่อให้ EM สร้างสปอร์หรือเพิ่มจำนวนทุกส่วนได้อย่างทั่วถึง
เมื่อครบ 5-7 วันปุ๋ยหมักจะแห้งสนิท
การนำไปใช้
1 หว่านโบกาฉิในแปลงปลูกพืชผัก 2-3 กำมือต่อตารางเมตร
คลุมฟางที่แปลงผัก รอบทรงพุ่มไม้ผลไม้ยืนต้น แล้วรดด้วยน้ำEM จะทำให้พืชงาม แข็งแรงไม่มีแมลงรบกวน
2 ใส่โบกาฉิลงไปที่คอห่านหัวส้วม 5 วันต่อครั้งๆ ละ 1 กำมือ ห้องส้วมจะไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่เต็มง่าย หว่านโบกาฉิลงในแหล่งน้ำเสีย 2 กิโลกรัม/น้ำเสีย 10 ลูกบาศก์เมตร น้ำเสียจะใสสะอาดภายใน 3-5 วัน หว่านโบกาฉิลงที่กองขยะที่ส่งกลิ่นเหม็น
กลิ่นเหม็นจะหายไปและไม่มีแมลงวัน
3 หว่านโบกาฉิลงในบ่อที่เลี้ยงปลา กบ
ตะพาบน้ำ จระเข้ กุ้ง ในอัตรา 100-150 กิโลกรัม /ไร่ จะทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดเหมือนน้ำธรรมชาติ
ไม่มีกลิ่นเหม็น พยาธิในบ่อจะไม่มี ปลา กบ ตะพาบน้ำ จระเข้ กุ้ง จะแข็งแรง
ไม่เกิดโรค มีความต้านทานโรคสูง
4 หว่านโบกาฉิอัตรา 100-150 กิโลกรัม /ไร่
ในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว แล้วไถกลบ จะทำให้ดินนิ่ม ร่วนซุย
ดินโปร่งมีช่องอากาศแทรกในเม็ดดิน ปักดำง่าย ได้ผลผลิตสูง ในปีแรก
จะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 500 กิโลกรัม /ไร่
เมื่อใช้ติดต่อกันประมาณ 5-6 ปี จะได้ผลผลิตประมาณ1,000 กิโลกรัม/ไร่ แล้วหยุดการใช้โบกาฉิ
สักระยะเนื่องจากดินเหมือนดินในธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์มาเมื่อ 50-100 ปี โรคข้าว เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า โรคถอดฝักดาบ โรคเพลี้ยไฟ
โรคหนอนกระทู้คอรวง ฯลฯ จะหาไม่พบเลยเมื่อใช้โบกาฉิแล้ว
กบ เขียด กุ้ง หอย ปลา ฯลฯ
จะกลับคืนสู่ท้องนาอย่างอุดมสมบูรณ์เหมือนที่เคยมีในอดีต
5 หว่านโบกาฉิรอบทรงพุ่มไม้ผล 3-5 กำมือ / ตารางเมตร
(ไม่ให้ชิดโคนต้น) หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต จะทำให้ดินร่วนซุยขึ้น
ไม้ผลเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง มีไส้เดือนมาอาศัยอยู่ในสวนเป็นจำนวนมาก
พื้นที่ในสวนที่ใช้โบกาฉิจะเก็บรักษาน้ำฝนไว้ไต้ดินจำนวนมาก หน้าแล้งไม้ผลจะออกใบเขียวชอุ่มอยู่ตลอดปี พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโต
และให้ผลผลิตสูง รสชาติไม้ผลหอมหวานกลมกล่อมเป็นธรรมชาติ
ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชทำลายให้เกิดความเสียหาย การใช้โบกาฉิ ซึ่งเป็นปุ๋ยหมัก
ที่เพาะเลี้ยงจุลินทรีย์EMลงไปในอินทรียวัตถุ
ทุกท้องถิ่นหาวัสดุทำได้ง่าย เป็นปุ๋ยมีชีวิต สร้างดินให้มีชีวิต
ปรับโครงสร้างของดินให้เกิดระบบนิเวศที่มีความสมดุลตามธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น